Tag Archives: ความเครียด

ไขมันในเลือดสูง

สิ่งที่ควรทราบและแนวทางป้องกันแก้ไข ไขมันในเลือดสูงหรือโคเลสเตอรอลในเลือดสูง มีความหมายเหมือนกัน โรคนี้มักจะไม่มีอาการหรืออาการแสดงให้เห็น จากการศึกษาพบและยืนยันว่า ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงนี้ เป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและตีบและต่อมาจะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด (เจ็บแน่นที่อกกล้ามเนื้อหัวใจตาย เสียชีวิตอย่างฉับพลัน) หรือเกิดโรคสมองขาดเลือด(อัมพาต อัมพฤกษ์) โคเลสเตอรอลในเลือด เป็นไขมันชนิดหนึ่งในร่างกายได้มาจาก การเผาผลาญอาหารที่รับประทานมากเกินไป หรืออาหารพวกไขมัน อีกส่วนหนึ่งได้มาจากร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาใช้เอง และยังเหลือเก็บสะสมเป็นพลังงานสำรองไว้ใช้ในโอกาสต่อไป 1. โคเลสเตอรอล ชนิดให้โทษ เรียก แอลดีแอล LDL ถ้ามีระดับสูงมากในเลือด จะนำโคเลสเตอรอลไปจับสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและตีบแคบ ภาวะนี้จะไม่มีอาการรบกวนใด ๆ ทั้งสิ้น จะดำเนินอยู่นานเป็นสิบปีจนกระทั่งหลอดเลือดแดงตีบและอุดตัน จึงจะเกิดอาการต่าง ๆ ดังกล่าว 2. โคเลสเตอรอล ชนิดให้คุณประโยชน์ เรียน เฮชดีแอล HDL ทำหน้าที่จับสารโคเลสเตอรอลตามผนังหลอดเลือดเอาไปทำลายที่ตับ จากการศึกาษวิจัยพบว่าบุคคลที่มีระดับ เฮชดีแอลในเลือดสูงมักจะมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่มีระดับ เฮชดีแอลในเลือดต่ำ ปัจจุบันเชื่อว่า “เฮชดีแอลช่วยป้องกันการเกิดหลอดเลือดแดงแข็งและตีบแคบ” ไขมันในเลือดผิดปกติ คือภาวะที่มีโคเลสเตอรอลชนิดให้โทษแอลดีแอลสูงและมีโคเลสเตอรอลชนิดให้คุณในเลือดต่ำ (เฮชดีแอล) ความผิดปกตินี้จะนำไปสู่ การเกิดหลอดเลือดแดงแข็งตีบแคบโดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมอง จึงทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด จนเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ มะเร็งลำไส้ใหญ่ […]

เมื่อร่างกายส่งสัญญาณ…โรคภัย

เมื่อร่างกายส่งสัญญาณ…โรคภัย (Momypedia) โดย: พราว ทุกวันนี้เราต่างตั้งหน้าตั้งตาทำงานกันจนไม่มีเวลาดูแล และสังเกตตัวเองกันเลย ว่า สภาพร่างกายเราเป็นอย่างไร ทั้งที่บางครั้งอาการที่แสดงออกมาเล็กน้อยแล้วเราผ่านเลยไป อาจเป็นจุดกำเนิดโรคภัยร้ายแรงได้เหมือนกัน เช่น ถ้ามีอาการใจหวิว วิงเวียนหน้ามืด ใจสั่น เจ็บหน้าอก จุกแน่นเวลารับประทานอาหารอิ่ม หรือช่วงหลังอาหารเย็น มีอาการเหนื่อยง่าย และเจ็บแน่นบริเวณหัวใจ แสดงว่าหัวใจของคุณกำลังมีปัญหา และควรรีบตรวจเช็กเร็วพลัน เพราะมีโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ถ้าจู่ ๆ น้ำหนักของคุณเพิ่ม หรือลดจากเดิมไปมาก หิวน้ำบ่อย กินจุ ปัสสาวะบ่อยและครั้งละมาก ๆ มีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน มึนงง (เนื่องจากมีน้ำตาลและไขมันไตรกลีเซอไรด์คั่งค้างอยู่ในเลือดสูง) ให้สงสัยว่า คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวาน ถ้าเริ่มเบื่ออาหาร และรู้สึกไม่สบายคล้ายจะเป็นไข้ ไอมีเสมหะ หายใจลำบาก และแน่นหน้าอก บางครั้งอาจมีอาการเจ็บด้านข้างปอดร่วมด้วย คุณอาจมีปัญหาเกี่ยวกับโรคติดเชื้อในทรวงอก ถ้าปวดศีรษะบ่อย ๆ และอาการปวดค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น แล้วเปลี่ยนเป็นปวดคงที่ทั่วทั้งศีรษะ และยิ่งปวดหนักมากขึ้นเมื่อก้มศีรษะไปข้างหน้า ร่วมกับมีไข้ อาเจียน ไวต่อแสง และคอแข็ง ควรรีบไปพบแพทย์ด่วน […]