ทฤษฎีกดจุด
การกดจุดสำหรับกรณีฉุกเฉิน
อารัมภบท
ธรรมชาติสร้างจุดต่างๆ มากกว่า 833 จุดทั่วร่างกายมนุษย์ เพื่อให้ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ นับเป็นเวลานานหลายพันปีมาแล้ว ชาวจีนใช้เข็มแทงกระตุ้นจุดเหล่านี้ เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้หายได้อย่างน่ามหัศจรรย์ เรียกจุดเหล่านี้ว่าจุดแทงเข็มหรือฝังเข็ม (Acupuncture Points) ต่อมาพบว่าการกดที่จุดดังกล่าว ให้ผลในการรักษาเหมือนกันกับการแทงด้วยเข็ม ปกติแล้วใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือส่วนที่อยู่ใต้เล็บกด และเรียกจุดเหล่านี้ว่า จุดกด ( Acupressure Points) ซึ่งเป็นจุดเดียวกันกับจุดฝังเข็มนั่นเอง ต่างจากการฝังเข็มการกดจุดไม่มีอันตรายใดๆ ทั้งสิ้น การฝังเข็มต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ มิฉนั้นอาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยได้ ข้อดีอย่างยิ่งของการกดจุดมีดังนี้คือ
1) เนื่องจากไม่มีอันตรายใดๆ ผู้ป่วยสามารถกดจุดรักษาตัวเองได้อย่างง่ายดาย และไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ตัวอย่างเช่น ในการกดจุดรักษาโรคความดันโลหิตสูง เมื่อกดจุดรักษาความดันโลหิตลดลงจนถึงระดับที่เหมาะสม และจะหยุดลดลงอีก แม้ว่ายังมีการกดจุดต่อไปอีก มิใช่ว่าความดันโลหิตจะลดลงไปเรื่อยๆ จนความดันต่ำกว่าปกติ เป็นต้น
2) ส่วนใหญ่แล้วการกดจุดรู้ผลในการรักษาทันที ตัวอย่างเช่น (ก) ในกรณีของนิ้วแข็ง( นิ้วล็อค ) งอไม่ได้ เพียงกดที่จุดๆ หนึ่งที่โคนนิ้วนั้น เพียงพริบตาเดียว อาการนิ้วล็อคจะหายไป สามารถงอได้เป็นปกติ สิ่งนี้ต่างจากการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งใช้การผ่าตัดเล็กๆ ที่ใต้โคนนิ้ว (ข) อาการปวดศีรษะหลายรูปแบบ เช่น ปวดบริเวณขมับ ปวดบริเวณท้ายทอย ปวดบริเวณหน้าผาก ปวดร้าวทั่วศีรษะ เป็นต้น สามารถกดจุดรักษาให้หายได้ภายในพริบตา นอกจากนี้การปวดศีรษะแบบไมเกรนก็สามารถรักษาได้ด้วยการกดจุดเช่นกัน เป็นต้น
3) ในการกดจุดรักษาโรคใดโรคหนึ่งโดยใช้จุดกดชุดหนึ่ง ถ้าโรคยังไม่หาย มิได้หมายความว่าการกดจุดไม่สามารถรักษาโรคนั้นได้ ควรใช้ตำรากดจุดชุดอื่นๆ โดยครูบาอาจารย์ท่านอื่นลองกดรักษาดู
การวัดระยะ
ในการหาตำแหน่งของจุดกด( Acupressure Point ) ใช้ ‘ ซุ่น ‘ เป็นหน่วยสำหรับวัดระยะ ซุ่นมีค่าความยาวต่างกันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
1) การวัดระยะบนแขนหรือขา 1 ซุ่นมีความยาวเท่ากับความยาวของข้อกลางของนิ้วกลางของผู้ป่วย ดังรูปที่ 1ก. หรือเท่ากับความกว้างของนิ้วหัวแม่มือของผู้ป่วย ดังรูปที่ 1ข. โดยทั่วไปเริ่มต้นอาจใช้ค่านี้ของซุ่นเป็นค่าประมาณสำหรับวัดระยะต่างๆทั่วร่างกาย หลังจากนั้นค่อยๆ ขยับเล็กน้อย เพื่อปรับแก้ให้ตรงจุดที่ต้องการ
1) การวัดระยะบนศีรษะในแนวจากด้านหน้า ส่วนบนและด้านหลังของศีรษะ ความยาว 1 ซุ่น แตกต่างจากข้อ 1) พอสรุปได้ดังต่อไปนี้คือ
(1) ในแนวของเส้นกึ่งกลางศีรษะ ซึ่งแบ่งศีรษะออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาเท่าๆ กัน จากตีนผมด้านหน้าถึงตีนผมด้านหลัง ความยาวเท่ากับ 12 ซุ่น ดังรูปย่อยบนขวาของรูปที่ 2 สำหรับผู้ป่วยที่ศีรษะล้านให้วัดจากจุดกึ่งกลางระหว่างหัวคิ้วถึงตีนผมด้านหลัง ระยะทางที่ได้คือ 15 ซุ่น ซึ่งหมายความว่าหน้าผากกว้าง 3 ซุ่นนั่นเอง
(1) ระยะทางจากตีนผมด้านหน้าถึงรอยต่อระหว่างกระดูกสันหลังคอข้อที่ 7 ( C7 )กับกระดูกสันหลังส่วนอกข้อที่ 1 ( T1 ) เท่ากับ 15 ซุ่น รอยต่อระหว่าง C7 กับ T1 หาได้ดังนี้ เมื่อก้มศีรษะลง ตรงโคนคอด้านหลังจะมีกระดูกนูนขึ้นมา วัดจากตีนผมตรงท้ายทอยลงมา 3 ซุ่นตามนิยามในข้อ 1) ซึ่งอยู่ตรงกลางในแนวดิ่งของกระดูกที่นูนชึ้นมา เป็.นรอยต่อระหว่าง C7 กับ T1 ที่ต้องการ ดังนั้นระยะทางจากตีนผมด้านหลังถึงรอยต่อระหว่าง C7 กับ T1 เท่ากับ 3 ซุ่น ในกรณีที่ตีนผมด้านหลังไม่เรียบร้อย เช่น แหว่งๆ เว้าๆ เป็นต้น ให้วัดระยะจากตีนผมด้านหน้าถึงปลายขอบล่างของกระโหลกศีรษะด้านหลัง เป็นระยะทางเท่ากับ 11 ซุ่น
1) การวัดระยะในแนวขวางบนใบหน้าและศีรษะ ให้ใช้หน่วย ‘ ซุ่น ‘ ซึ่งแสดงไว้บนศีรษะดังปรากฏในรูปที่ 2
1) การวัดระยะบนอกส่วนบน ถือว่ากระดูกซี่โครงแต่ละซี่อยู่ห่างกัน 1.6 ซุ่น
2) การวัดระยะตามลำตัวในแนวขวาง ให้ใช้นิยามของซุ่นดังนี้คือ ระยะห่างระหว่างหัวนมซ้ายกับหัวนมขวามีค่าเท่ากับ 8 ซุ่น ดูรูปที่ 2
3) การวัดระยะบริเวณหน้าท้อง ให้ใช้นิยามของซุ่นดังต่อไปนี้ ดูรูปที่ 2 ประกอบด้วย
(ก) ระยะจากส่วนล่างสุดของลิ้นปี่ถึงจุดกึ่งกลางของสะดือเท่ากับ 8 ซุ่น
(ข) ระยะจากจุดกึ่งกลางของสะดือถึงขอบบนของกระดูกหัวหน่าว( Pubic bone) เท่ากับ 5 ซุ่น
4) การวัดระยะเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง ใช้วิธีนับช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังโดยการแบ่งกระดูกสันหลังออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน ดังตารางข้างล่าง
ส่วนของกระดูกสันหลัง | จำนวนข้อ | |
1 | กระดูกสันหลังส่วนคอ( Cervical Vertebrae ) | 7 |
2 | กระดูกสันหลังส่วนอก( Thoracic Vertebrae ) | 12 |
3 | กระดูกสันหลังส่วนเอว( Lumbar Vertebrae ) | 5 |
4 | กระดูกสันหลังส่วนเชิงกราน( Sacral Vertebrae ) | 5 บางส่วนติดกัน |
5 | Coccyx | แบ่งออกเป็น 4 ส่วน( Segments) |
1) การวัดระยะบนหลังในแนวขวาง( ตั้งฉากกับแนวดิ่ง )
(1) ใช้นิยามของซุ่นดังนี้คือ เมื่อต้นแขนทั้งสองอยู่แนบข้างลำตัวดังรูปที่ 2 ระยะห่างระหว่างสะบักเท่ากับ 6 ซุ่น ยกเว้นกรณีของข้อ (2)ข้างล่างนี้
(2) สำหรับการวัดระยะห่างจากแนวกึ่งกลางของกระดูกสันหลังของจุดต่างๆ บนเส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะ ( Bladder Meridian ) ให้หาด้วยวิธีดังต่อไปนี้ ให้ใช้ปลายเล็บมือเคลื่อนที่ไปตามแนวขวางของแผ่นหลัง เริ่มจากจุดบนแนวกึ่งกลางของกระดูกสันหลัง ไปตามผิวหนังของแผ่นหลัง แอ่งกล้ามเนื้อแรกที่พบ อยู่ห่างจากแนวกึ่งกลางของกระดูกสันหลังเท่ากับ 1.5 ซุ่น แอ่งกล้ามเนื้อที่สองซึ่งพบถัดไป อยู่ห่าง 3 ซุ่น ตามลำดับ
ตัวอย่าง ระยะห่างระหว่างรอยพับข้อมือกับรอยพับที่ข้อศอกของชายคนหนึ่งเท่ากับ 23 เซ็นติเมตร อยากทราบว่าความยาว 1 ซุ่นบนแขนของชายผู้นี้ยาวกี่เซ็นติเมตร
จากรูปที่ 2 ระยะห่างระหว่างรอยพับข้อมือกับรอยพับที่ข้อศอกมีค่าเท่ากับ 12 ซุ่น ดังนั้นความยาว 1 ซุ่นคิดเป็นเซ็นติเมตรได้เท่ากับ 23/12 = 1.9 เซ็นติเมตร เมื่อวัดความยาวของข้อกลางของนิ้วกลางของชายผู้นี้ หรือวัดความกว้างของนิ้วหัวแม่มือได้ 1.9 เซ็นติเมตรเท่ากัน แสดงให้เห็นว่า โดยประมาณเราสามารถใช้ความยาวของข้อกลางของนิ้วกลาง หรือความกว้างของนิ้วหัวแม่มือแทนความยาว 1 ซุ่นได้เลยโดยไม่ต้องคำนวณให้ยุ่งยาก นอกจากนี้เราสามารถใช้ซุ่นตามนิยามในข้อ 1) ยกเว้นในกรณีของข้อ 2) เป็นค่าประมาณในการวัดระยะหาตำแหน่งของจุดกด โดยปรับตำแหน่งสุดท้ายเล็กน้อย
แรงที่ใช้ในการกดจุด
ยกเว้นในกรณีที่จุดที่อยู่ลึกลงไปจากผิวหนังมากๆ แรงที่ใช้ในการกดจุดไม่จำเป็นต้องมาก ออกแรงกดเพียงแค่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามีลมปราณเดินเท่านั้น ผู้ป่วยมี 2 ประเภทตือ
(1) ผู้ป่วยที่มีความรู้สึกไว เมื่อถูกกดตรงจุดกดพอดี จะมีความรู้สึกว่ามีอาการชาหรือตื้อๆ วิ่งออกไปจากจุดกด เรียกอาการนี้ว่า ‘ ลมปราณ ‘
(2) ผู้ป่วยที่มีความรู้สึกไม่ไว เมื่อถูกกดตรงจุดกดพอดี จะรู้สึกเจ็บหรือปวดตื้อๆ มากกว่าจุดอื่นๆ โดยรอบที่มิใช่จุดกด ดังนั้นในกรณีนี้เราเลือกจุดที่กดแล้วเจ็บที่สุด
เคล็ดลับในการกดจุด
(1) เพื่อให้ได้ผลดีในการกด ณ จุดใดจุดหนึ่ง ถ้าทำได้( ดูข้อยกเว้นในข้อ (2) ) ต้องยืดกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นตรงบริเวณจุดนั้นให้ตึงก่อนเสมอ ตัวอย่างเช่น (1)จุดชิฉือ( BL-11 )ซึ่งอยู่ใกล้ปลายนอกของรอยพับข้อศอกด้านหน้าแขน เมื่อต้องการกดจุดชิฉือ ควรเหยียดแขนออกไปให้ตรงก่อน (2)จุดหวนเที่ยว( GB-30 )ซึ่งอยู่บริเวณสะโพก กล้ามเนื้อบริเวณจุดนี้ทำให้ตึงได้ด้วยการชันเข่าขึ้นมาให้หัวเข่าอยู่ใกล้หน้าท้องมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นต้น
(2) ในการกดจุดเน่ยกวาน( PC-6 )ซึ่งอยู่ด้านฝ่ามือ เหนือรอยพับข้อมือไปทางข้อศอก 2 ซุ่น ใต้เอ็น 2 เส้น ถ้ายืดกล้ามเนื้อบริเวณนี้ให้ตึง เอ็นทั้ง 2 เส้นนี้จะกั้นมิให้นิ้วที่ใช้กดจุดลงไปถึงจุดเน่ยกวานได้ ดังนั้นในกรณีนี้จึงจำเป็นที่จะต้องให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นหย่อน
การรมจุดด้วยความร้อน( Moxibustion )
การใช้ความร้อนรมจุดเป็นวิธีที่สำคัญวิธีหนึ่งที่ช่วยให้การรักษาบรรลุผลดีได้ อาจใช้ธูปขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร ที่ติดไฟแล้ว( ไม่มีเปลวไฟ )เป็นแหล่งให้ความร้อน ให้ปลายธูปอยู่ห่างจากจุดที่จะกดประมาณ 1 ซ.ม. ปรับระยะห่างบ่อยๆ เพื่อมิให้ผู้ป่วยรู้สึกร้อนเกินไป การจับธูปให้ทำเหมือนกับการจับปากกาเขียนหนังสือ กล่าวคือจับธูประหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ส้นมือวางอยู่ใกล้บริเวณที่จะกดจุด ทั้งนี้เพื่อมิให้ปลายธูปที่กำลังติดไฟอยู่ถูกตัวผู้ป่วย ส่วนมืออีกข้างหนึ่งของผู้กดจุดที่ว่างอยู่ ให้จับส่วนอื่นของร่างกายของผู้ป่วย เพื่อมิให้ขยับเขยื้อนมาสัมผัสกับธูป มีข้อควรระวังดังต่อไปนี้ (ก)เพราะว่าควันธูปอาจมีสารที่อาจเป็นพิษต่อร่างกาย ให้ใช้พัดลมเป่าลมอ่อนๆ เฉียดๆ ธูป เพื่อพาควันธูปออกไป (ข)หมั่นเคาะเอาขี้ธูปออก เพื่อป้องกันขี้ธูปร้อนๆหล่นถูกผู้ป่วย (ค)ถ้าทำได้ ให้จัดตำแหน่งของธูปและจุดที่จะกดในลักษณะที่ว่าขี้ธูปหรือลูกไฟไม่หล่นถูกผู้ป่วย และ(ค)หมั่นใช้กรรไกรตัดถ่านซึ่งมาจากแกนกลางของธูปออก รวมทั้งตัดธูปส่วนที่ติดไฟที่ยาวเกินไปออก เพื่อป้องกันไม่ให้หลุดและหล่นถูกผู้ป่วย
มีจุดหลายจุดที่ห้ามการใช้ความร้อนรม ดังตารางข้างล่างนี้
ตารางที่1 แสดงจุดที่ห้ามใช้ความร้อนรม
ลำดับที่ | จุดที่ห้ามใช้ความร้อนรม | รายละเอียดเพิ่มเติม |
1 | จิงหมิง( BL-1 ) จันจู๋( BL-2 ) ถงจื่อเหลียว( GB-1)ซีหยางกวาน( GB-33 ) หย่าเหมิน( GV-15 ) ซ่างซิง( GV-23 )ซู่เหลียว( GV-25 ) อินเจียว( GV-28 ) อิ๋งเซี้ยง( LI-20 )ฉื่อเจ๋อ( LU-5 ) จิงฉี( LU-8 ) ซ่าวซาง( LU-11 )จงชง( PC-9 ) ซือจู๋คง( TW-23 ) อวี่เอี่ยว( XF-4 )XFi-4 Pie Yen( XF-5 ) Jia-Cheng Jiang(XF-6)
Hai Chuen( XF-7 ) |
ลำดับที่ | จุดที่ห้ามใช้ความร้อนรม | รายละเอียดเพิ่มเติม |
2 | กวานหยวน( CV-4 ) เจี้ยนหลี่( CV-11) | สตรีระหว่างตั้งครรภ์ |
3 | มิ่งเหมิน( GV-4 ) | ทำให้หมดสมรรถภาพในชายอายุอ่อนกว่า 20 ปีและในชายที่มีร่างกายแข็งแรง อายุระหว่าง 20-25 ปี |
4 | เจียนอวี่( LI-15 ) | ห้ามให้ความร้อนนานเกิน 35 วินาที มิฉนั้นกล้ามเนื้อแขนท่อนบนอาจลีบ |
5 | เฟิงฝู่( GV-16 ) | ทำให้ลิ้นเป็นอัมพาต พูดไม่ได้ |
6 | ต้าตู( SP-2 ) | ช่วงตั้งครรภ์และช่วงหลังคลอด 3 เดือน |
7 | โถวเหว่ย( ST-8 ) | ทำให้ตาบอด |
8 | กวานหยวน( CV-4 ) | กรณีที่ใช้จุด CV-4 รักษาอาการฝันเปียก |
9 | เถาหลินซี่( GB-15 ) | ทำให้ปวดศีรษะและตาบอด |
10 | เหรินจง( GV-26 ) | ทำให้ถึงแก่ความตายได้ |
11 | สื่อเหมิน( CV-5 ) | ในสตรีห้ามฝังเข็มและรมด้วยความร้อน อาจทำให้เป็นหมันได้ |
เส้นลมปราณ( Meridians )
เส้นลมปราณหลักทีทั้งหมด 14 เส้น เส้นลมปราณ CV และ GVแต่ละเส้นมีเพียง 1 เส้น กล่าวคือตรงกลางลำตัวด้านหน้าและกลางลำตัวด้านหลัง ตามลำดับ เส้นลมปราณที่เหลืออีก 12 เส้น แต่ละเส้นประกอบด้วยเส้นซ้ายมือ 1 เส้นและขวามือ 1 เส้น จุดกด( Acupressure Points )ซึ่งเป็นจุดเดียวกันกับจุดฝังเข็ม( Acupuncture Points ) อยู่บนเส้นลมปราณทั้ง 14 เส้นนี้ นอกจากนี้ยังมีจุดอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่อยู่บนเล้นลมปราณดังกล่าว เรียกว่าจุดพิเศษ( Extra Points )
(1) BL = Bladder Meridian = เส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะ
(2) CV = Conception Vessel Meridian = เส้นกลางตัวด้านหน้า( เริ่นม่าย )
(3) GB = Gall Bladder Meridian = เส้นลมปราณถุงน้ำดี
(4) GV = Govern Vessel Meridian= เส้นกลางตัวด้านหลัง( ตูม่าย )
(5) HT = Heart Meridian = เส้นลมปราณหัวใจ
(6) KI = Kidney Meridian = เส้นลมปราณไต
(7) LI = Large Intestine Meridian = เส้นลมปราณลำไส้ใหญ่
(8) LV = Liver Meridian = เส้นลมปราณตับ
(9) LU = Lung Meridian = เส้นลมปราณปอด
(10) PC = Pericardium Meridian = เส้นลมปราณเยื่อหุ้มหัวใจ
(11) SI = Small Intestine Meridian = เส้นลมปราณลำไส้เล็ก
(12) SP = Spleen Meridian = เส้นลมปราณม้าม
(13) ST = Stomach Meridian = เส้นลมปราณกระเพาะอาหาร
(14) TW = Triple Warmer Meridian = เส้นลมปราณซานเจียว
ความกตัญญูกตเวที
ตำรานี้เกิดจากพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบุรพาจารย์ทั้งหลายที่มีเมตตากรุณาและไม่หวงวิชาความรู้ ดังนั้นควรแล้วที่ท่านทั้งหลายที่ได้ประโยชน์จากตำรานี้ จะแผ่เมตตาส่งบุญกุศลไปยังท่านเหล่านั้น ทุกเมื่อที่ท่านประกอบการอันเป็นบุญกุศล รวมทั้งการเผยแผ่ตำรานี้ออกไปให้กว้างขวางเพื่อยังประโยชน์ให้แก่คนจำนวนมาก