ชาอู่หลง ของไทยเรามีรสชาดที่เป็นเลิศ

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกชาประมาณ 120,000 ไร่โดยปลูกมากที่สุดในเขตจังหวัดเชียงราย สายพันธุ์

ชาหลักที่ปลูกได้แก่ ชาสายพันธุ์อัสลัม และชาสายพันธ์จีน ผลผลิตที่ได้จะถูกนำไปแปรรูปในโรงงานที่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ปลูก การแปรรูปจากใบชาสดเป็นผลิตภัณฑ์ชาแห้งนั้น จังหวัดเชียงรายมีโรงงานชาที่ สามารถผลิตชาได้สองรูปแบบหลักคือ การผลิตชาอูหลง และการผลิตชาเขียว ซึ่งการผลิตทั้งสองรูปแบบนี้

ชาอู่หลง

ชาเขียว อู่หลง

จะอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญการผลิต การลงทุนเครื่องจักร และความต้องการของตลาดในขณะนั้น การผลิตชาในรูปแบบเดิมนั้นผลผลิตชาที่ได้จะได้ผลิตภัณฑ์ชาเขียวที่มี ลักษณะเป็นเส้น และชาอูหลงที่มีลักษณะม้วนตัวเป็นก้อนเล็กๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะลูกนำบรรจุในบรรจุภัณฑ์ รูปแบบต่างๆ เพื่อขายปลีกและขายส่ง ตลาดชาในปัจจุบันมีทั้งชาภายในประเทศและต่างประเทศ ชาเชียงรายเป็นที่นิยมของตลาดในกลุ่มผู้บริโภคต่างประเทศเช่นไต้หวันเนื่องจากชาเชียงรายมีรสชาติชาที่เป็นเลิศไม่แพ้ชาจากแหล่งผลิตอื่นในโลก และยังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคภายในประเทศบางกลุ่มที่มี ความรู้และเลือกดื่มผลิตชาที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มผู้บริโภคเป็นจำนวนมากที่ยังไม่เคยได้ทดลอง บริโภคผลิตภัณฑ์ชาเชียงราย

ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะการขาดข้อมูลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ รวมทั้งไม่ได้รับ ข้อมูลประชาสัมพันธ์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ความยุ่งยากในการชงชา การใช้อุปกรณ์ชงชาที่หลากหลาย ก็ เป็นอีกปัจจัยหนํ่งที่ทำให้ผู้บริโภคในกลุ่มที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วไม่นิยมบริโภคชารูปแบบเดิม โดยหันไปเลือกดื่มเครื่องดื่มที่เตรียมได้สะดวกรวดเร็ว หรือถ้าเป็นชาก็นิยมดื่มชาดำชนิดซอง หรือบริโภคชา สำเร็จรูปบรรจุขวดแทนที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ชาแห้งไปชงดื่ม