ชาฤดูใบไม้ผลิหอมตลบอบอวล

จีนเป็นแหล่งกำเนิดของต้นชา อีกทั้งเป็นประเทศแรกในโลกที่ผลิตชาและดื่มชา หนังสือที่เกี่ยวข้องกับใบชาและมารยาทการดื่มชาเล่มแรกของโลกคือ “ฉา จิว (Cha Jing) หรือ “ตำราว่าด้วยชา” ซึ่งเป็นฝีมือการเขียนของลู่ อี่ว์ (Lu Yu) นักชิมชาสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-907) ของจีน “ตำราว่าด้วยชา” เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชาไว้อย่างครบถ้วน ทั้งประวัติความเป็นมา กรรมวิธีการผลิต และศิลปะการชงน้ำชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการดื่มน้ำชาให้สูงขึ้นมาเป็นการวินิจฉัยความ งามทางวัฒนธรรมที่แสนวิเศษอย่างหนึ่ง และมีส่วนส่งเสริมการพัฒนาของวัฒนธรรมชา ด้วยเหตุนี้ ลู่ อี่ว์ (Lu Yu) ผู้รวบรวมหนังสือเล่มดังกล่าวจึงได้รับการยกย่องเป็น “เทพแห่งชา” หรือ “เมธีแห่งชา”

ในประเทศจีน ชาได้รับการยกย่องว่าเป็น “เครื่องดื่มแห่งชาติ” ที่สื่อถึงวัฒนธรรมและศิลปะโบราณของจีน ควบคู่กับพิณ หมากรุก ศิลปะอักษรจีน การเขียนภาพ การแต่งกลอน และการดื่มสุรา ในแต่ละยุคสมัยและแต่ละราชวงศ์ของจีน กาพย์กลอน ภาพเขียนและผลงานดนตรีที่เกี่ยวข้องกับชามีอยู่ให้เห็นเป็นเนืองๆ ส่วนการชิมชาพร้อมกับการแต่งกลอน และการประกวดดื่มชาพร้อมการละเล่นต่างๆ เป็นงานสังคมอย่างหนึ่งที่ปัญญาชนจีนนิยมกันมาก

การเจริญเติบโตของต้นชา การเด็ดใบชาและการผลิตชาเป็นสิ่งที่เป็นไปตามฤดูกาล อย่างชาเขียว มักจะออกสู่ตลาดในฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากฤดูกาลนี้อุณหภูมิพอเหมาะพอดี ปริมาณน้ำฝนพอเพียง อีกทั้งต้นชาได้พักผ่อนหย่อนใจมาเป็นเวลาค่อนข้างนานในฤดูใบไม้ร่วงและฤดู หนาวปีก่อนหน้านี้ ซึ่งสะสมสารโภชนาการไว้มากมาย ฉะนั้น ใบชาที่ออกในฤดูใบไม้ผลิจึงมีเนื้ออวบอ่อน สีสันเขียวสด และเต็มไปด้วยสารโภชนาการ ให้รสชาติสดชื่นและชุ่มคอ ส่งกลิ่นหอมอบอวล นับเป็นเครื่องบำรุงสุภาพที่แสนวิเศษ ด้วยเหตุนี้ ชาเขียวที่ออกในช่วงกลางเมษายนจึงถือว่ามีคุณภาพดีที่สุดในรอบปี และขายได้ราคาดีที่สุดด้วย

ในวัฒนธรรมชาจีนที่ลึบลับและยาวนาน ไม่เพียงแต่เน้นการคัดเลือกใบชาอย่างพิถีพิถันเท่านั้น หากยังเน้นวิธีการชงชาอีกด้วย ซึ่งให้ความสำคัญในสองด้าน คือ หนึ่ง ศิลปะการชงชา และสอง การฝึกจิต โดยผ่านการดื่มชา เพื่อยกระดับแนวความคิดของผู้คนให้สูงขึ้นถึงระดับนักปราญช์เมธี

วิธีการชงน้ำชาเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) และได้รับการสืบสานมาทุกชั่วคน ที่สำคัญจะเน้นความงาม 5 ด้านด้วยกัน คือ ใบชา น้ำสำหรับชงชา ไฟ เครื่องชงชา และบรรยากาศ สรุปคือ นอกจากต้องมีใบชาคุณภาพดี น้ำและเครื่องชงชาที่สะอาดสะอ้านแล้ว ยังต้องการบรรยากาศที่ดี เมื่อมีแขกเหรื่อมาเยือน ก็จะคารวะด้วยชา ซึ่งได้กลายมาเป็นมารยาทแบบจีนในการคบหาสมาคมกับเพื่อนมิตร

เครื่องดื่มที่ช่วยเสริมสุขภาพและความงาม จึงมีประเพณีนิยมในการดื่มชายามเช้าและยามบ่าย จนกระทั่งเรียกชาว่าเป็น “น้ำแห่งสุภาพที่แข็งแรง และเครื่องดื่มแห่งจิตวิญญาณ” ในสายตาของชาวฝรั่งเศส ชาเป็น “เครื่องดื่มที่แสนอ่อนน้อม แสนโรแมนติกส์ และมีอารมณ์กวีมากที่สุด” และที่ประเทศญี่ปุ่น ชาถูกมองว่าเป็น “ยาสำหรับสรรพโรค” นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังเป็นผู้สืบสานวัฒนธรรมชาของจีนได้อย่างดี จนมีวิธีการชงชาเป็นเอกลักษณ์ของตนอีกด้วย