ประเภทของชา
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากที่ยังไม่รู้ความแตกต่างของชา โดยปกติแล้วชาจะถูกเรียกแตกต่างกันตามกรรมวิธีการผลิตหรือแปรรูปชา แล้วชาจะผลิตจากต้นชาเป็นหลัก( Camellia sinensis)
ชาเขียว
เป็นชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก โดยจะนำใบชาที่เก็บมาผัดด้วยความร้อนเพื่อคงสีเขียวของใบชาไว้ และทำให้ใบชาแห้งก่อนที่จะเกิดกระบวนการหมัก ใบชาจะถูกผัดให้ทั่วจนแห้งเท่าๆกัน และชาญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะนำไปนึ่ง โดยเวลาที่ใช้ในการนึ่งจะเป็นตัวบอกประเภทชาต่างๆ อย่างเช่น เซนฉะ จะใช้เวลานึ่ง 30-90 วินาที แล้วจึงนำไปนวดแล้วต่อด้วยทำให้แห้ง
ชาเหลือง
ชาเหลืิองค้นพบจากชาเขียวที่พอผ่านกระบวนการแล้วควบคุมขั้นตอนไม่ดี ทำให้ชาแห้งไม่ทันเวลา ใบชาที่กองไว้นานจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนำ้ชาจึงมีสีเหลืองเพราะมีการเกิดกระบวนการหมัก เหตุผลหลักๆที่มีการผลิตชาเหลือง เพราะลบลักษณะกลิ่นเขียวของชาเขียวออกไปโดยที่ยังมีคุณประโยชน์เหมือนชาเขียว
ชาดำ
เป็นชาเขียวหลังจากผ่านกระบวนการผัดหรือนึ่งด้วยความร้อนแล้ว แล้วนำมาผ่านกระบวนการหมักและทำปฎิกิริยากับความชื่นจนกลายเป็นสีดำ โดยปกติชาเขียวจะรสชาติจะเริ่มเสียรสชาติไปภายใน 1 ปี แต่ชาดำจะยังคงเก็บรักษารสชาติไว้ ดังนั้นการที่ชาดำผ่านกระบวนการหมักนั้น ทำให้ชาดำมีประโยชน์ต่อสุขภาพกว่าชาประเภทอื่นๆเช่นอู่หลง,ชาขาว หรือชาเขียวอีก โดยรสชาติของชาดำที่ดีจะมีลักษณะเข้ม หอม รสนุ่่ม ชุ่มคอ และจะแตกต่างกันไปตาม ลักษณะใบชา และกระบวนการผลิตที่ต่างกันไป
ตัวอย่างประเภทชาดำของแต่ละประเทศ อินเดีย:ชาอัสสัม ชาดาร์จีลิง ,ศรีลังกา:ชาซีลอน , จีน:ชาผู่เอ๋อร์ ,คีมุน
ชาขาว
ชาขาวในสมัยก่อนนั้นเกิดจากการพบใบชาเขียวที่เป็นสีขาว แต่ภายหลังจึงพัฒนาเป็นชาเขียวที่ใช้เฉพาะส่วนใบชาอ่อน หรือยอดชา โดยจะมีลักษณะใบอ่อนนุ่ม แล้วนำมาผ่านกระบวนการ
ชาแดง
เป็นชาเขียวที่ผลิตโดยการบวนการหมัก โดยไม่ผ่านความร้อนสูงอย่างการผัด,นึ่ง,หรือคั่วเพื่อคงความเขียว แต่จะใช้การตากแดดแทน โดยลักษณะสีของน้ำชาจะเป็นสีแดงเพราะเกิดจากกระบวนการหมักนั่นเอง
และในบางกรณีเวลาพูดถึงชาแดง ส่วนใหญ่จะหมายถึงชารอยบอส จากแอฟริกา (ไม่ได้ผลิตจากต้นชาเขียว)เพราะลักษณะนำชามีสีออกแดง
ชาแกมแดง (ชาอู่หลง)
เป็นชากึ่งหมัก โดยใช้วิธีผสมผสานของกระบวนการผลิตชาเขียวกับชาแดง โดยการนำใบชาที่เก็บมานั้นมาตากแดด ก่อนจะนำไปผัดและอบ โดยระยะเวลาในการหมักจะพอดีที่จะให้ใบชามีสีกึ่งเขียวกึ่งแดง จึงทำให้ชานั้นมีรสชาติสดชื่นของชาเขียว และรสหวานของชาแดง
ชากลิ่นดอกไม้
เป็นการนำชามาอบกลิ่นของดอกไม้ หรือนำดอกไม้มาผสม เช่น ชามะลิ ชากุหลาบ ชาดอกส้ม
ชาที่เป็นยา
เป็นการนำใบชามาผสมตัวยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวยา ช่วยให้ตัวยาละลายได้ดีมากขึ้นหรือปรับ รสชาติและกลิ่นของยา