Tag Archives: การออกกำลังกาย

เคล็ดลับ ‘ดื่มน้ำ’ ได้สุขภาพ

เมื่ออากาศเย็นลง จนทำใครหลายคนรู้สึกหนาวและอาจป่วยไข้ไม่สบายเพราะอากาศเปลี่ยนแปลง ระยะนี้จึงต้องใส่ใจดูแลสุขภาพกันเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องการดื่มน้ำ ที่ไม่ว่าจะฤดูไหน ก็ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ สำหรับน้ำที่ดื่ม ไม่ควรเย็นจี๋ เพราะทำให้เส้นเลือดที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารหดตัวลง หากเป็นเช่นนั้นเซลล์จะปรับตัวและขยายตัวเพื่อดูดซึม ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการปรับอุณหภูมิก่อนดูดซึม จึงมักเกิดอาการจุกหน้าอกขณะกระหายน้ำ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย ชี้ว่า การดื่มน้ำเย็นจัดมากเกินไปจะทำให้ขีดความสามารถในการทำงานของสมองลดลงทันที ส่งผลกระทบต่อการขับรถ หรือทำงานที่ต้องใช้สมอง ซึ่งน้ำเย็นจัดเพียงแค่แก้วเดียว ยังทำให้สภาพจิตใจของบางคนลดลงร้อยละ15 ส่วนการดื่มน้ำร้อนจัดก็ไม่ควร เพราะความร้อนของน้ำอาจทำลายเยื่อบุช่องปากและทางเดินอาหาร จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรค การดื่มน้ำที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ควรเป็นน้ำที่มีอุณหภูมิใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิร่างการเล็กน้อย เช่น น้ำอุณหภูมิห้อง หรือน้ำที่มีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ในระบบหมุนเวียนเลือดได้ทันที โดยเฉพาะในหน้าหนาว ช่วงเวลาที่ควรดื่มน้ำ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำไว้ 3 ช่วงด้วยกัน ประกอบด้วย แก้วแรกของวัน ดื่มระหว่าง 05.00-07.00 น. จะช่วยการขับถ่าย ช่วงต่อไป คือ 15.00-17.00น. จะช่วยล้างกระเพาะปัสสาวะ และแก้วสุดท้ายของวัน ดื่มก่อนเข้านอน 1 ชั่วโมง ช่วยการนอนหลับที่ดี ในแต่ละวัน ปริมาณน้ำดื่มที่ร่างกายต้องการของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไปตามน้ำหนักตัว ซึ่งมีวิธีคำนวณง่ายๆ […]

ดื่มชาเพื่อสุขภาพ

เราดื่มชากันติดปากไม่ต่างจากการดื่มกาแฟ และมีข้อมูลที่ยืนยันว่าคนเรามีการดื่มชากันมากว่า 5 พันปีแล้ว ปัจจุบัน ชาที่เราดื่ม ๆ กัน มีหลายประเภท ทั้งชาแท้ ชาเขียว ชาขาว ชาดำ ชาแดง หรือ ชาอู่หลง ศัลยา คงสมบูรณ์เวช ผู้เชี่ยวชาวด้านโภชนาบำบัดให้ความรู้เรื่องของชา ๆ ไว้อย่างน่าสนใจในหนังสือ อาหารต้านวัยต้านโรค เธอว่าชาทุกชนิดที่กล่าวมามีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูงในรูปพอลิฟีนอล ประกอบไปด้วยสารฟลาโวนอยด์หลายชนิด ซึ่งเป็นคุณในการป้องกันโรคได้หลายโรค อันดับแรกเลยเป็นข้อมูลที่พบกันมาก นักวิจัยแนะนำการดื่มชาวันละ 1-5 ถ้วย เพื่อลดโรคหัวใจหรือป้องกันหัวใจวาย นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์พบว่า ผู้ที่กินสารฟลาโวนอยด์มากที่สุด มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง 68% อาหารที่มีสารฟลาโวนอยด์มากที่สุดคือชาดำ รองลงมาคือหัวหอมและ แอปเปิล รายงานการวิจัยจากองค์การอาหารและเกษตรของสหรัฐอเมริกาพบว่า การดื่มชาดำวันละ 5 ถ้วย ช่วยลดแอลดีแอล (คอเลสเตอรอลไม่ดี) ได้ถึง 11.1% และลดคอเลสเตอรอลรวม 6.5% ในกลุ่มชายและหญิงที่มีคอเลสเตอรอลสูงขึ้นไม่มาก งานวิจัยในบอสตันพบว่า ผู้ที่ดื่มชาดำวันละถ้วย ลดความเสี่ยงหัวใจวาย 44% เทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม แต่จากการวิเคราะห์งานวิจัย 17 […]

ชาฤดูใบไม้ผลิหอมตลบอบอวล

จีนเป็นแหล่งกำเนิดของต้นชา อีกทั้งเป็นประเทศแรกในโลกที่ผลิตชาและดื่มชา หนังสือที่เกี่ยวข้องกับใบชาและมารยาทการดื่มชาเล่มแรกของโลกคือ “ฉา จิว (Cha Jing) หรือ “ตำราว่าด้วยชา” ซึ่งเป็นฝีมือการเขียนของลู่ อี่ว์ (Lu Yu) นักชิมชาสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-907) ของจีน “ตำราว่าด้วยชา” เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชาไว้อย่างครบถ้วน ทั้งประวัติความเป็นมา กรรมวิธีการผลิต และศิลปะการชงน้ำชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการดื่มน้ำชาให้สูงขึ้นมาเป็นการวินิจฉัยความ งามทางวัฒนธรรมที่แสนวิเศษอย่างหนึ่ง และมีส่วนส่งเสริมการพัฒนาของวัฒนธรรมชา ด้วยเหตุนี้ ลู่ อี่ว์ (Lu Yu) ผู้รวบรวมหนังสือเล่มดังกล่าวจึงได้รับการยกย่องเป็น “เทพแห่งชา” หรือ “เมธีแห่งชา” ในประเทศจีน ชาได้รับการยกย่องว่าเป็น “เครื่องดื่มแห่งชาติ” ที่สื่อถึงวัฒนธรรมและศิลปะโบราณของจีน ควบคู่กับพิณ หมากรุก ศิลปะอักษรจีน การเขียนภาพ การแต่งกลอน และการดื่มสุรา ในแต่ละยุคสมัยและแต่ละราชวงศ์ของจีน กาพย์กลอน ภาพเขียนและผลงานดนตรีที่เกี่ยวข้องกับชามีอยู่ให้เห็นเป็นเนืองๆ ส่วนการชิมชาพร้อมกับการแต่งกลอน และการประกวดดื่มชาพร้อมการละเล่นต่างๆ เป็นงานสังคมอย่างหนึ่งที่ปัญญาชนจีนนิยมกันมาก การเจริญเติบโตของต้นชา การเด็ดใบชาและการผลิตชาเป็นสิ่งที่เป็นไปตามฤดูกาล อย่างชาเขียว มักจะออกสู่ตลาดในฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากฤดูกาลนี้อุณหภูมิพอเหมาะพอดี ปริมาณน้ำฝนพอเพียง […]

ชาแดงฉีเหมิน

สิบสุดยอดชาจีนอันเลื่องชื่อ : ชาแดงฉีเหมิน ชาแดงฉีเหมิน เรียกสั้น ๆ ว่า ชาฉีหง มีแหล่งผลิตอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของเทือกเขาหวงซาน ในอำเภอฉีเหมิน มณฑลอานฮุย ถือเป็นของล้ำค่าในหมู่ชาแดงด้วยกัน เคยได้รับรางวัลเหรียญทองจากการประกวดในงานนิทรรศการมหกรรมสินค้านานาชาติปานามา แหล่งผลิตชาฉีหงนั้นมีธรรมชาติแวดล้อมที่เป็นเลิศ ภูมิอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น ฝนตกชุก จึงเหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นชาเป็นอย่างมาก   ชาแดงฉีเหมินมีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว ใบละเอียดแน่นเป็นเส้นยาว ขนอ่อนสีเหลืองทอง เมื่อชงแล้วจะได้น้ำชาเป็นสีแดงสดใส กลิ่นหอมคงทน คล้ายกับกลิ่นของแอปเปิ้ลผสมดอกกล้วยไม้ โดยในตลาดต่างประเทศได้ให้สมญานามว่า “กลิ่นหอมฉีเหมิน” ถ้าหากดื่มแบบเติมนมและน้ำตาล สีของน้ำชาจะกลายเป็นสีชมพู แต่ความหอมมิได้ลดลง และไม่เพียงแต่เต็มไปด้วยสารอาหารหลากหลายชนิดเท่านั้น ชาฉีหงยังมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคอีกด้วย ชาแดงฉีเหมินเป็นสินค้าส่งออกอันล้ำค่าของจีนมาแต่โบราณ ประวัติยาวนานจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ ชาชนิดนี้ในตลาดต่างประเทศนับว่ามีชื่อเสียงพอ ๆ กับชาดาร์จีลิงของอินเดียและชาซีลอนของศรีลังกา ซึ่งถูกขนานนามให้เป็นสามยอดชาที่มีกลิ่นหอมมากที่สุดของโลก โดยส่งออกไปยังประเทศและพื้นที่ต่าง ๆ กว่า 50 แห่งทั่วโลก อาทิ อังกฤษ สแกนดิเนเวีย เยอรมนี สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น